ตอบ ในการค้นหาข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นเราสามารถสืบค้นข้อมูลได้ ในที่นี้ขอยก ตัวอย่าง Search Engine เว็บไซต์ที่น่าสนใจต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบการสืบค้นทั้งแบบนามานุกรมและแบบดรรชนีสืบค้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1.เข้าไปยังเว็บไซต์ www.google.com โดยพิมพ์ URL ที่ช่อง Address
2.พิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการค้นหาลงในช่อง ค้นหา ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด (ในแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย) คือ
- เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
- รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ
- กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ
- สารบบเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่
3. จะปรากฏหน้าเว็บที่มีรายการเว็บไซต์ที่สอดคล้องกับคำที่ต้องการค้นหา พร้อม รายละเอียดของเว็บไซต์ที่พบ เช่น แจ้งรายการที่ค้นได้ ชื่อเรื่อง และ URL
4.คลิกที่ชื่อเรื่อง เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีข้อมูลตามต้องการ
2) ให้ น.ศ. ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ในด้านต่างๆ พร้อมยกตัวอย่าง โปรโตคอลดังกล่าว (ยกตัวอย่างการใช้งานด้านละ อย่างน้อย 3 โปรโตคอล) เช่น โปรโตคอล TCP/IP คือ ...ใช้สำหรับ ...เป็นต้น ตอบ 1.IP (Internet Protocol) IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนำไปรวมเป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทาง
รูป IP Header
2.2 ICMP (Internet Control Message Protocol) ICMP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่ หากมีการส่งดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมา ก็แปลความหมายได้สองกรณีคือ ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย หรืออาจจะมีปัญหา ในการสื่อสารทั้งการส่งดาต้าแกรม และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ ICMP จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ โปรโตคอลในระดับสูงกว่า Network Layer ในการจัดการให้การสื่อสารนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ในส่วนของ ICMP Message จะประกอบด้วย Type ขนาด 8 บิต Checksum ขนาด 16 บิต และส่วนของ Content ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันไปตาม Type และ Code ดังรูป
รูป ICMP Header
3.1 UDP : (User Datagram Protocol) เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน
Transport Layer เมื่อเทียบกับโมเดล OSI โดยการส่งข้อมูลของ UDP นั้นจะเป็นการส่งครั้งละ
1 ชุดข้อมูล เรียกว่า UDP datagram ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างดาต้าแกรมและจะไม่มีกลไกการตรวจสอบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูล กลไกการตรวจสอบโดย
checksum ของ UDP นั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจจะถูกแก้ไข หรือมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง
และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ปลายทางจะได้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
แต่มันจะเป็นการตรวจสอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยในข้อกำหนดของ UDP หากพบว่า Checksum
Error ก็ให้ผู้รับปลายทางทำการทิ้งข้อมูลนั้น
แต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่งแต่อย่างใด การรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งหากเกิดข้อผิดพลาดในระดับ
IP เช่น ส่งไม่ถึง, หมดเวลา ผู้ส่งจะได้รับ Error Message จากระดับ IP
เป็น
ICMP Error Message แต่เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางถูกต้อง แต่เกิดข้อผิดพลาดในส่วนของ UDP
เอง
จะไม่มีการยืนยัน หรือแจ้งให้ผู้ส่งทราบแต่อย่างใด
รูป UDP Header
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น