วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เครือข่ายและการเชื่อมต่ออินเทอร์เนต




1.ยกตัวอย่างการเชื่อมอินเทอร์เน็ตในแต่ละประเภท  คือ PAN , LAN , MAN , WAN  พร้ อม
ภาพประกอบ


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภท PAN  ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล


     1. เชื่อมโยงอุปกรณ์การสื่อสารหลายๆเครื่องเข้าด้วยกัน
    2.ระยะทางการเชื่อมต่อไม่เกิน 1 เมตร
    3.ความเร็วประมาณ 10 mbps
    4.ใช้สื่อ lrDA Port, Bluetooth, Wireless




การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภท LAN  ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น


     เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
     -เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกันติดต่อ เชื่อมโยงในระยะใกล้  เช่น ภายในตึก องค์กร สำนักงาน
     -ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 10 กิโลเมตร
     -ความเร็ว ประมาณ 10 – 100 Mbps

     -ใช้สื่อ Coaxial, UTP, STP, Fiber Optical, Wireless




การเชื่อมต่ออินเทอร็เน็ตประเภท MAN ระบบเครือข่ายระดับเมือง

      เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
     -เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล เช่นติดต่อข้ามจังหวัด 
     -ระยะทาง 100 กิโลเมตร
     -ความเร็ว 1 Gbps
     -ใช้สื่อ Fiber Optical, Microware, Satellite 









การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภท WAN  ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง



     เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย
     -เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลมาก ครอบคลุมทั่วโลก
     -ความเร็ว 10 Gbps
     -ใช้สื่อ Microware, Satellite




2. หากนักศึกษาต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต  น.ศ.คิดว่าจะมีกี่วิธีและวิธีการใดบ้าง

     การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับ ปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์ เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต 

2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network) 
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่ 



3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
         
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบDSL หรือไม่ บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

4.การเชื่อมต่อแบบ Cable 
         
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย 



5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) 
         
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก   http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5bf204ac20583837


3. อธิบายความแตกต่างของ HUB และ Switch  พร้อมภาพประกอบ

     Hub กับ Switch มีความแตกต่างกันคือ  Hub นั้นเวลาส่งข้อมูลจะเป็นแบบ broadcast กระจายไปทุกเครื่อง ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้ากับฮับมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง  ขณะที่ Switch นั้นจะสามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน และคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของสวิตซ์
ตัวอย่าง
     Speed HUB  =  Speed / N เครื่อง   เช่น  LAN 100 Mbps 10 เครื่อง ทุกเครื่องได้แค่ 10 Mbps  ขณะที่ Speed ของ switch นั้น  LAN 100 Mbps ทุกเครื่องก็จะได้ 100 Mbps

     ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ ส่งหลายๆ สถานี เข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือIEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บน ฮับนั้น ดังนั้น ทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส(address)ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูล หรือแพ็กเก็ต


      สวิตซ์(switch) เป็น อุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี (อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่ามา แอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
อ้างอิงข้อมูลจาก  : http://www.mvt.co.th/viewarticle.php?cid=9&nid=98&page=2
อ้างอิงรูปภาพจาก  : http://hub-xpress.blogspot.com/
                                 http://readartikels.blogspot.com/2011/02/differences-hub-and-switch.html



4. อธิบายรูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi และ Wireless  ว่าเหมือน หรือต่างกันอย่างไร  พร้อมภาพประกอบ


     Wi-Fi นั้นเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (WLAN) ปัจจุบันนั้นใช้ Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรงผ่านจุดให้บริการ



     สำหรับ Wireless ก็คือระบบ LAN แบบไร้สาย (WLAN) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ถ้าเครือข่ายที่เชื่อมต่อมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้งาน จึงจะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้


สรุปก็คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน ( LAN ) ที่ใช้สายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่ อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณและใช้งานได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึงใช้สัญลักษณ์เหมือนกัน  คือ  
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก  :  http://www.vettech.ku.ac.th/wordpress/archives/109


5. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi คืออะไร มีรูปแบบการเชื่อมต่ออย่างไร  พร้อมภาพประกอบ                   

     Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก 

ลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์
     Wi-Fi ได้กำหนดลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ภายในเครือข่าย WLAN ไว้ 2 ลักษณะคือโหมด Infrastructure และโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer

โหมด Infrastructure
     โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่าย Wi-Fi จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน WLAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ ( Client Station ) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Desktop, Laptop, หรือ PDA ต่างๆ ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi และสถานีแม่ข่าย ( Access Point ) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น ( ซึ่งโดยปกติจะเป็นเครือข่าย IEEE 802.3 Ethernet LAN ) การทำงานในโหมด Infrastructure มีพื้นฐานมาจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือสถานีผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงกับสถานีแม่ข่ายที่ให้บริการ แก่สถานีผู้ใช้นั้นอยู่เท่านั้น ส่วนสถานีแม่ข่ายจะทำหน้าที่ส่งต่อ ( forward ) ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีผู้ใช้ไปยังจุดหมายปลายทางหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ รับจากเครือข่ายอื่นมายังสถานีผู้ใช้

โหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
     เครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer เป็นเครือข่ายที่ปิดคือไม่มีสถานีแม่ข่ายและไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น บริเวณของเครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc จะถูกเรียกว่า Independent Basic Service Set ( IBSS ) ซึ่งสถานีผู้ใช้หนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับสถานีผู้ใช้อื่นๆในเขต IBSS เดียวกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีแม่ข่าย แต่สถานีผู้ใช้จะไม่สามารถรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอื่นๆได้     

                          
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก  :  http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=571&name=content9&area



6. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านมือถือ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง อธิบายขั้นตอนอย่างละเอียด

     โทรศัพท์มือถือหลายรุ่น หลายยี่ห้อ สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้โดยตรง ผ่านทาง GPRS/EDEG/3G แต่ติดปัญหาในเรื่องของขนาดของหน้าจอ ที่อาจจะเล็กไปสำหรับผู้ใช้งานหลายๆ คน  อีกทั้งไม่สะดวกในการ download file โปรแกรม เพื่อนำมาใช้งานอื่นๆ อีกด้วย วันนี้มีวิธีในการเชื่อมต่อมือถือ Nokia ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต มาเล่าสู่กันฟัง

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับโทรศัพท์มือถือ
     - คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ laptop
     - โปรแกรม Nokia PC Suite
     - โทรศัพท์ Nokia พร้อม USB Cable

วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์
     - ติดตั้งโปรแกรม Nokia PC Suite (ทำตามหน้าจอไปเรื่อยๆ)
     - ต่อสาย USB Cable ด้านหนึ่งกับโทรศัพท์ อีกด้านต่อเข้ากับ USB Port ของคอมพิวเตอร์
     - ที่หน้าจอมือถือ จะแสดงข้อความว่าจะเชื่อมต่อแบบใด? (PC Suite, Printing & media, Data Strage) ให้เราเลือก PC Suite
     - ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ในส่วนของโปรแกรม Nokia PC Suite ให้คลิกเลือกไอคอน Connect to the Internet ดังภาพประกอบ


     - จะมีหน้าต่างแสดง One Touch Access และโปรแกรมจะเชื่อมต่อให้ทันที
     - ถ้าต้องการยกเลิกให้คลิกปุ่ม Disconnect

    
      - หลังจากเชื่อมต่อได้แล้ว จะมีไอคอนเล็กๆ แสดงการเชื่อมต่ออยู่บริเวณ Taskbar ขวามือด้านล่าง
     - ทดสอบเข้าโปแกรม Browser ที่คุณใช้งาน หรือลองเช็คอีเมล์ดู

ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
     - สามารถเชื่อมต่อผ่าน BlueTooth แทนสาย USB ได้เช่นเดียวกัน
     - ข้อความระวังเรื่องค่าใช้จ่ายของการเชื่อมต่อผ่านน GRPS/EDGE/3G ควรสอบถามกับบริษัทที่เราใช้บริการก่อน จะได้ไม่มากลุ้มใจในภายหลัง














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น