วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

งานชิ้นที่ 1


จงหาความหมายของคำ
1. Browser คือเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถท่องเที่ยวไปในโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดกั้นทางด้านพรมแดน นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่างๆ

2. client คือ โครงสร้างทางระบบเครือข่าย ไม่ใช่โครงสร้างของระบบจัดการไฟล์โครงสร้างของ client คือการที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการเครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้

3. DNS คือ ระบบ Domain Name System (DNS) นี้เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address โดยมีโครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับชั้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลที่เรียกค้นได้อย่างรวดเร็ว กลไกหลักของระบบ DNS คือ ทำหน้าที่แปลงข้อมูลชื่อและหมายเลข IP address หรือทำกลับกันได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันเพิ่มเติมอื่นๆ อีก เช่น แจ้งชื่อของอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใน domain ที่รับผิดชอบด้วย ในระบบ DNS จะมีการกำหนด name space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีกลไกการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย ทำงานในลักษณะของไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)

4. Download คือ การโอนย้ายไฟล์หรือข้อมูลจากที่หนึ่งไปอีกทีหนึ่ง เช่น การโอนไฟล์หรือว่าเอาข้อมูลมาจาก อินเตอร์เน็ต หรือว่า จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เข้ามาบันทึกเอาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในทางกลับกัน ถ้าเราจะนำไฟล์หรือข้อมูลของเรา ไปบันทึกไว้เครื่องอื่น ที่มีการเชื่อมต่อกันมากกว่า 2 เครื่อง การโอนไฟล์หรือข้อมูลจากเครื่องของเราไปบันทึกไว้บนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการฝากข้อมูล หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น จะเรียกว่า การ Upload สรุป...ถ้าเรารับข้อมูลมา เรียกว่า การ Download ถ้าเราส่งข้อมูลออกไป เรียกว่า การ Upload 

5. E-Mail คือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet )การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า E-mail Address เป็นหลักในการรับส่ง

6. Freeware คือ ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องไม่นำไปขายหรือนำไปหารายได้จากโปรแกรมนั้น หรือ(ต้องระวัง)ควรอ่านข้อกำหนดของโปรแกรมนั้นให้ชัดเจนก่อนใช้ เพราะบางครั้งมีข้อจำกัดในการใช้บางอย่าง เช่น ใช้ได้เฉพาะส่วนบุคคล ห้ามใช้ในเชิงพาณิชย์

7. Homepage คือ คำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

8. Internet คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก คือ เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย
คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย
คือ เครือข่ายของเครือข่าย

9. Server คือ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น 2. ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น 3. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น

10. World Wide Web คือ พื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต

11. Web Site คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น

12. Web Browser คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Internet Work 3

1) ให้ น.ศ. ทำการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของเว็บไซต์ต่าง ๆ ว่า เมื่อ น.ศ.ต้องการจะเข้าเว็บไซต์เพื่อค้นหาข้อมูล หรือ ใช้บริการเว็บไซต์ต่างๆ นั้น มีกระบวนการอย่างไรบ้าง กว่าที่หน้าเว็บนั้น ๆ จะปรากฏให้เห็นเป็น Webpage ต่างๆ (เขียนขั้นตอนการท างานอย่างละเอียด)
          ตอบ  ในการค้นหาข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นเราสามารถสืบค้นข้อมูลได้ ในที่นี้ขอยก ตัวอย่าง Search Engine เว็บไซต์ที่น่าสนใจต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบการสืบค้นทั้งแบบนามานุกรมและแบบดรรชนีสืบค้น โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
          1.เข้าไปยังเว็บไซต์ www.google.com โดยพิมพ์ URL ที่ช่อง Address
          2.พิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการค้นหาลงในช่อง ค้นหา ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด (ในแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย) คือ
               - เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก
               - รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ
               - กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ
               - สารบบเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่
          3. จะปรากฏหน้าเว็บที่มีรายการเว็บไซต์ที่สอดคล้องกับคำที่ต้องการค้นหา พร้อม รายละเอียดของเว็บไซต์ที่พบ เช่น แจ้งรายการที่ค้นได้ ชื่อเรื่อง และ URL
          4.คลิกที่ชื่อเรื่อง เพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีข้อมูลตามต้องการ


2) ให้ น.ศ. ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ในด้านต่างๆ พร้อมยกตัวอย่าง โปรโตคอลดังกล่าว (ยกตัวอย่างการใช้งานด้านละ อย่างน้อย 3 โปรโตคอล) เช่น โปรโตคอล TCP/IP คือ ...ใช้สำหรับ ...เป็นต้น          ตอบ  1.IP (Internet Protocol) IP เป็นโปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คเลเยอร์ ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับแอดเดรสและข้อมูล และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของแพ็กเก็ต ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบดาต้าแกรม (datagram) เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บนโปรโตคอลอื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 ดาต้าแกรม โดยจะไม่ทราบถึงข้อมูลดาต้าแกรมที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 ดาต้าแกรม อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (fragmentation) และถูกนำไปรวมเป็นดาต้าแกรมเดิมเมื่อถึงปลายทาง

รูป IP Header


     2.2 ICMP (Internet Control Message Protocol)   ICMP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของดาต้าแกรม (Datagram) ในกรณีที่เกิดปัญหากับดาต้าแกรม เช่น เราเตอร์ไม่สามารถส่งดาต้าแกรมไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยังโฮสต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่ หากมีการส่งดาต้าแกรมออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมา ก็แปลความหมายได้สองกรณีคือ ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย หรืออาจจะมีปัญหา ในการสื่อสารทั้งการส่งดาต้าแกรม และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ ICMP จึงเป็นโปรโตคอลที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ โปรโตคอลในระดับสูงกว่า Network Layer ในการจัดการให้การสื่อสารนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ในส่วนของ ICMP Message จะประกอบด้วย Type ขนาด 8 บิต Checksum ขนาด 16 บิต และส่วนของ Content ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันไปตาม Type และ Code ดังรูป


รูป ICMP Header

     3.1   UDP : (User Datagram Protocol)  เป็นโปรโตคอลที่อยู่ใน Transport Layer เมื่อเทียบกับโมเดล OSI โดยการส่งข้อมูลของ UDP นั้นจะเป็นการส่งครั้งละ 1 ชุดข้อมูล เรียกว่า UDP datagram ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างดาต้าแกรมและจะไม่มีกลไกการตรวจสอบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูล กลไกการตรวจสอบโดย checksum ของ UDP นั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจจะถูกแก้ไข หรือมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ปลายทางจะได้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่มันจะเป็นการตรวจสอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยในข้อกำหนดของ UDP หากพบว่า Checksum Error ก็ให้ผู้รับปลายทางทำการทิ้งข้อมูลนั้น แต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่งแต่อย่างใด การรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งหากเกิดข้อผิดพลาดในระดับ IP เช่น ส่งไม่ถึง, หมดเวลา ผู้ส่งจะได้รับ Error Message จากระดับ IP เป็น ICMP Error Message แต่เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางถูกต้อง แต่เกิดข้อผิดพลาดในส่วนของ UDP เอง จะไม่มีการยืนยัน หรือแจ้งให้ผู้ส่งทราบแต่อย่างใด


รูป UDP Header






วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เครือข่ายและการเชื่อมต่ออินเทอร์เนต




1.ยกตัวอย่างการเชื่อมอินเทอร์เน็ตในแต่ละประเภท  คือ PAN , LAN , MAN , WAN  พร้ อม
ภาพประกอบ


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภท PAN  ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล


     1. เชื่อมโยงอุปกรณ์การสื่อสารหลายๆเครื่องเข้าด้วยกัน
    2.ระยะทางการเชื่อมต่อไม่เกิน 1 เมตร
    3.ความเร็วประมาณ 10 mbps
    4.ใช้สื่อ lrDA Port, Bluetooth, Wireless




การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภท LAN  ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น


     เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
     -เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกันติดต่อ เชื่อมโยงในระยะใกล้  เช่น ภายในตึก องค์กร สำนักงาน
     -ระยะทางการเชื่อมต่อ ไม่เกิน 10 กิโลเมตร
     -ความเร็ว ประมาณ 10 – 100 Mbps

     -ใช้สื่อ Coaxial, UTP, STP, Fiber Optical, Wireless




การเชื่อมต่ออินเทอร็เน็ตประเภท MAN ระบบเครือข่ายระดับเมือง

      เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
     -เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล เช่นติดต่อข้ามจังหวัด 
     -ระยะทาง 100 กิโลเมตร
     -ความเร็ว 1 Gbps
     -ใช้สื่อ Fiber Optical, Microware, Satellite 









การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตประเภท WAN  ระบบเครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง



     เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย
     -เชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลมาก ครอบคลุมทั่วโลก
     -ความเร็ว 10 Gbps
     -ใช้สื่อ Microware, Satellite




2. หากนักศึกษาต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต  น.ศ.คิดว่าจะมีกี่วิธีและวิธีการใดบ้าง

     การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับ ปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์ เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต 

2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network) 
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่ 



3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
         
เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบDSL หรือไม่ บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย

4.การเชื่อมต่อแบบ Cable 
         
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย 



5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) 
         
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก   http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5bf204ac20583837


3. อธิบายความแตกต่างของ HUB และ Switch  พร้อมภาพประกอบ

     Hub กับ Switch มีความแตกต่างกันคือ  Hub นั้นเวลาส่งข้อมูลจะเป็นแบบ broadcast กระจายไปทุกเครื่อง ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อเข้ากับฮับมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง  ขณะที่ Switch นั้นจะสามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกันและกันได้ในเวลาเดียวกัน และคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของสวิตซ์
ตัวอย่าง
     Speed HUB  =  Speed / N เครื่อง   เช่น  LAN 100 Mbps 10 เครื่อง ทุกเครื่องได้แค่ 10 Mbps  ขณะที่ Speed ของ switch นั้น  LAN 100 Mbps ทุกเครื่องก็จะได้ 100 Mbps

     ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ ส่งหลายๆ สถานี เข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน ฮับที่ใช้งานอยู่ภายใต้มาตรฐานการรับส่งแบบอีเทอร์เน็ต หรือIEEE802.3 ข้อมูลที่รับส่งผ่านฮับจากเครื่องหนึ่งจะกระจายไปยังทุกสถานีที่ต่ออยู่บน ฮับนั้น ดังนั้น ทุกสถานีจะรับสัญญาณข้อมูลที่กระจายมาได้ทั้งหมด แต่จะเลือกคัดลอกเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเท่านั้น การตรวจสอบข้อมูลจึงต้องดูที่แอดเดรส(address)ที่กำกับมาในกลุ่มของข้อมูล หรือแพ็กเก็ต


      สวิตซ์(switch) เป็น อุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ กล่าวคือ การรับส่งข้อมูลจากสถานี (อุปกรณ์) ตัวหนึ่ง จะไม่กระจายไปยังทุกสถานี (อุปกรณ์) เหมือนฮับ ทั้งนี้เพราะสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูล(แพ็กเก็ต) มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่ามา แอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำแพ็กเก็ตหรือกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี (อุปกรณ์) เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ สวิตช์จะลดปัญหาการชนกันของข้อมูลเพราะไม่ต้องกระจายข้อมูลไปทุกสถานี และยังมีข้อดีในเรื่องการป้องกันการดักจับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย
อ้างอิงข้อมูลจาก  : http://www.mvt.co.th/viewarticle.php?cid=9&nid=98&page=2
อ้างอิงรูปภาพจาก  : http://hub-xpress.blogspot.com/
                                 http://readartikels.blogspot.com/2011/02/differences-hub-and-switch.html



4. อธิบายรูปแบบการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi และ Wireless  ว่าเหมือน หรือต่างกันอย่างไร  พร้อมภาพประกอบ


     Wi-Fi นั้นเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (WLAN) ปัจจุบันนั้นใช้ Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตโดยตรงผ่านจุดให้บริการ



     สำหรับ Wireless ก็คือระบบ LAN แบบไร้สาย (WLAN) เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ถ้าเครือข่ายที่เชื่อมต่อมีอินเตอร์เน็ตให้ใช้งาน จึงจะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้


สรุปก็คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน ( LAN ) ที่ใช้สายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่ อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณและใช้งานได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึงใช้สัญลักษณ์เหมือนกัน  คือ  
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก  :  http://www.vettech.ku.ac.th/wordpress/archives/109


5. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ Wi-Fi คืออะไร มีรูปแบบการเชื่อมต่ออย่างไร  พร้อมภาพประกอบ                   

     Wi-Fi ( ย่อมาจาก wireless fidelity ) ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สายภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับอุปกรณ์ Lan ไร้สายไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันจนติดปาก 

ลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์
     Wi-Fi ได้กำหนดลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ภายในเครือข่าย WLAN ไว้ 2 ลักษณะคือโหมด Infrastructure และโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer

โหมด Infrastructure
     โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ในเครือข่าย Wi-Fi จะเชื่อมต่อกันในลักษณะของโหมด Infrastructure ซึ่งเป็นโหมดที่อนุญาตให้อุปกรณ์ภายใน WLAN สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้ ในโหมด Infrastructure นี้จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 2 ประเภทได้แก่ สถานีผู้ใช้ ( Client Station ) ซึ่งก็คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( Desktop, Laptop, หรือ PDA ต่างๆ ) ที่มีอุปกรณ์ Client Adapter เพื่อใช้รับส่งข้อมูลผ่าน Wi-Fi และสถานีแม่ข่าย ( Access Point ) ซึ่งทำหน้าที่ต่อเชื่อมสถานีผู้ใช้เข้ากับเครือข่ายอื่น ( ซึ่งโดยปกติจะเป็นเครือข่าย IEEE 802.3 Ethernet LAN ) การทำงานในโหมด Infrastructure มีพื้นฐานมาจากระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ กล่าวคือสถานีผู้ใช้จะสามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงกับสถานีแม่ข่ายที่ให้บริการ แก่สถานีผู้ใช้นั้นอยู่เท่านั้น ส่วนสถานีแม่ข่ายจะทำหน้าที่ส่งต่อ ( forward ) ข้อมูลที่ได้รับจากสถานีผู้ใช้ไปยังจุดหมายปลายทางหรือส่งต่อข้อมูลที่ได้ รับจากเครือข่ายอื่นมายังสถานีผู้ใช้

โหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer
     เครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer เป็นเครือข่ายที่ปิดคือไม่มีสถานีแม่ข่ายและไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น บริเวณของเครือข่าย Wi-Fi ในโหมด Ad-Hoc จะถูกเรียกว่า Independent Basic Service Set ( IBSS ) ซึ่งสถานีผู้ใช้หนึ่งสามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลกับสถานีผู้ใช้อื่นๆในเขต IBSS เดียวกันได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านสถานีแม่ข่าย แต่สถานีผู้ใช้จะไม่สามารถรับส่งข้อมูลกับเครือข่ายอื่นๆได้     

                          
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก  :  http://www.pantown.com/group.php?display=content&id=571&name=content9&area



6. การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านมือถือ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง อธิบายขั้นตอนอย่างละเอียด

     โทรศัพท์มือถือหลายรุ่น หลายยี่ห้อ สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้โดยตรง ผ่านทาง GPRS/EDEG/3G แต่ติดปัญหาในเรื่องของขนาดของหน้าจอ ที่อาจจะเล็กไปสำหรับผู้ใช้งานหลายๆ คน  อีกทั้งไม่สะดวกในการ download file โปรแกรม เพื่อนำมาใช้งานอื่นๆ อีกด้วย วันนี้มีวิธีในการเชื่อมต่อมือถือ Nokia ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต มาเล่าสู่กันฟัง

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับโทรศัพท์มือถือ
     - คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ laptop
     - โปรแกรม Nokia PC Suite
     - โทรศัพท์ Nokia พร้อม USB Cable

วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์
     - ติดตั้งโปรแกรม Nokia PC Suite (ทำตามหน้าจอไปเรื่อยๆ)
     - ต่อสาย USB Cable ด้านหนึ่งกับโทรศัพท์ อีกด้านต่อเข้ากับ USB Port ของคอมพิวเตอร์
     - ที่หน้าจอมือถือ จะแสดงข้อความว่าจะเชื่อมต่อแบบใด? (PC Suite, Printing & media, Data Strage) ให้เราเลือก PC Suite
     - ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ในส่วนของโปรแกรม Nokia PC Suite ให้คลิกเลือกไอคอน Connect to the Internet ดังภาพประกอบ


     - จะมีหน้าต่างแสดง One Touch Access และโปรแกรมจะเชื่อมต่อให้ทันที
     - ถ้าต้องการยกเลิกให้คลิกปุ่ม Disconnect

    
      - หลังจากเชื่อมต่อได้แล้ว จะมีไอคอนเล็กๆ แสดงการเชื่อมต่ออยู่บริเวณ Taskbar ขวามือด้านล่าง
     - ทดสอบเข้าโปแกรม Browser ที่คุณใช้งาน หรือลองเช็คอีเมล์ดู

ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
     - สามารถเชื่อมต่อผ่าน BlueTooth แทนสาย USB ได้เช่นเดียวกัน
     - ข้อความระวังเรื่องค่าใช้จ่ายของการเชื่อมต่อผ่านน GRPS/EDGE/3G ควรสอบถามกับบริษัทที่เราใช้บริการก่อน จะได้ไม่มากลุ้มใจในภายหลัง